แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี

*******************

. วิสัยทัศน์

ยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมวัฒนธรรม ”

. พันธกิจ

พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น

. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร

. ให้มีและบำรุงรักษาการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

. ป้องกันและบรรเทาสาธารภัย

. ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการและการพักผ่อนหย่อนใจ

. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

๑๐. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

๑๑. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

๑๒. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

.จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

. การคมนาคมมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย

. น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมและเพียงพอตลอดปี

. ประชาชนทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้และมีโคมไฟแสงสว่างภายในหมู่บ้านเพียงพอ

. ข้าราชการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับความสะดวก

. ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้เพียงพอ

. มีการเล่นกีฬาและออกกำลังกายกันอย่างแพร่หลาย

. ส่งเสริมด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

. ประชาชนมีสุขภาพดีและมีโรคติดต่อน้อยลงและไม่เกิดโรคระบาดในพื้นที่

. ประชาชนที่ด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

๑๐. พัฒนาแหล่งศึกษาและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ป่าชายเลน

๑๑. ส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑๒. เพิ่มช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ทั่วถึง

เนื่องจากการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการปกครองการบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลังและการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีความเป็นอิสระในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นและการดำเนินตามแผน ความเป็นอิสระนั้นไม่ได้หมายถึงความเป็นอิสระในฐานะเป็น “ รัฐอิสระ ” แต่เป็นการมอบอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะบางส่วนให้ และยังต้องอยู่ในการกำกับดูแลหรือตรวจสอบโดยรัฐบาลและประชาคมอีกด้วย

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องตระหนักว่าแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ ได้แก่ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล แผนกระทรวง แผนกรม และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งเป็นแผนระดับชาติยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาจังหวัดในระดับจังหวัด ตลอดจนยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอและแผนพัฒนาอำเภอในระดับอำเภอ ซึ่งในการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาระดับจังหวัดและอำเภอนั้น ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาคมจะมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย

แนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ ดังนี้

. ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาสังคม

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองการบริหาร ตามระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานในองค์การ การให้บริการประชาชนและการติดต่อประสานงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสวัสดิการและนันทนาการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แก้ไขปัญหาการว่างงานและการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัย แก้ไขปัญหาชุมชนโดยชุมชน

เป้าหมายการพัฒนา เป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ของตนตามระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ให้ประชาชนในตำบลมีความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปราศจากยาเสพติดในหมู่บ้าน , ชุมชน ส่งเสริมให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

แนวทางการดำเนินงาน

. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการงานของ อบต.ที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

และการดำเนินงานการปกครองต่าง ๆ ตามระบอบประชาธิปไตย เช่น การอบรมผู้นำชุมชน การรณรงค์เพื่อการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ ต่าง ๆ

. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน การควบคุมและระวังโรคติดต่อ

. ส่งเสริมสนับสนุนทางด้านการศึกษาของเด็กและเยาวชนและประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริม

ประเพณี อันดีงามกิจกรรมทางศาสนา สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น

. ส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมการจัดเวทีประชาคม การประชุม

การอบรมสัมมนาเพื่อความรู้และระดมความคิดเห็น

. ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพและความเป็นเลิศรวมทั้งกิจกรรมนันทนาการ

. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยชุมชน

. จัดสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์แก่เด็กผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ยากไร้

. อำนวยความสะดวกตามสมควรในการให้บริการแก่ประชาชนทั้งในและนอกสถานที่ รวมถึงการ

เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ

. ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ การพัฒนา อาชีพหลักเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งชุมชน โดยยึดแนวทางตามพระราชดำริ “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” เน้นการพัฒนาผลผลิต และการแปรรูปแบบครบวงจรและการแลกเปลี่ยนสินค้า

เป้าหมายการพัฒนา เน้นการพัฒนาครอบคลุมทุกด้านทั้งการเกษตร การอุตสาหกรรมในครัวเรือนการแปรรูปเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการบริการเพื่อการศึกษาดูงานและการท่องเที่ยวทั้งการเกษตร เชิงนิเวศน์แหล่งน้ำและเชิงอนุรักษ์ ตลอดจนการเสริมสร้างรายได้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน รวมทั้งเน้นการเป็น เจ้าบ้านที่ดี

แนวทางการดำเนินงาน

. ส่งเสริมการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมเพื่อยกระดับรายได้

. ส่งเสริมการจัดลานค้าชุมชนและร้านค้าริมทาง สำหรับสินค้าพื้นเมืองและผลผลิตทางการเกษตร

. ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อการต่อรองและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรอย่างครบวงจรและต่อเนื่องตลอดจนส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพต่าง ๆ

. จัดตั้ง รณรงค์การดำเนินการเพื่อการท่องเที่ยวในรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องและครบวงจร

. พัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ การกีฬา นันทนาการและการท่องเที่ยว

. ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านกายภาพเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและผู้เยี่ยมเยียน

เป้าหมายการพัฒนา เป็นการดำเนินการในภาพรวม ในทุกด้าน ที่เกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในพื้นที่และจัดหาบริเวณสาธารณะเพิ่มเติมตามความต้องการ

แนวทางการดำเนินงาน

. ปรับปรุง ก่อสร้าง ซ่อมแซม สิ่งสาธารณะ ทางด้านการคมนาคม ทุกแหล่งเท่าที่ทำได้

. ประสานเพื่อการจัดการไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะและครัวเรือนให้เพียงพอต่อความต้องการ

. ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ

วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร น้ำอุปโภค บริโภคตลอดจนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรและการระบายน้ำในระบบแม่น้ำลำคลองในพื้นที่ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากน้ำใต้ดิน ให้สามารถใช้การได้ทุกพื้นที่

เป้าหมายการพัฒนา ทุกพื้นที่การเกษตรต้องไม่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วม มีน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด เพียงพอ และตลอดจนทำให้น้ำทุก แหล่งในพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา

แนวทางการดำเนินงาน

. ขุดลอกคลองธรรมชาติ ร่องน้ำ คลองส่งน้ำ ให้เพียงพอต่อการกักเก็บน้ำและสามารถ

ระบายน้ำในระบบให้มีความเหมาะสมเพื่อการใช้สอย

. ขุดสระน้ำเพิ่มเติมและปรับปรุงสระน้ำเดิมให้มีสภาพเหมาะสม

. จัดระบบชลประทานวางท่อน้ำดิบให้ทั่วถึงทุกพื้นที่การเกษตร

. จัดระบบน้ำสะอาดให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน

. จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการใช้น้ำ

. ปรับปรุงคุณภาพน้ำผิวดินให้มีคุณภาพดีขึ้น

. ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของชุมชน และสังคม ให้เกิด

ความน่าอยู่และยั่งยืน และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน

เป้าหมายการพัฒนา ให้สภาพแวดล้อมของชุมชนและพื้นที่มีสภาพน่าอยู่และยั่งยืน โดยการ

สร้างจิตสำนึกของประชาชนในการพิทักษ์ รักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างทั่วถึง จริงจัง และยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน

. สร้างจิตสำนึกและตระหนักในการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

. ป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

. บำบัดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ การ

กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การบำบัดน้ำเสีย

. ส่งเสริมการทำปุ๋ยชีวภาพจากขยะในครัวเรือน

. ส่งเสริมอนามัยสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและชุมชน

. จัดระบบนิเวศน์ป่าชุมชนและป่าชายเลนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

. ยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ

  1. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาพื้นที่ตามสภาพที่ต้องการนอกเหนือจากแผนงานทั้ง 5 ยุทธศาสตร์

  2. เป้าหมายการพัฒนา เพื่อการส่งเสริมความรู้และสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีพื้นบ้าน

ที่หายไปให้กลับมาอยู่คู่ชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน

. การฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีพื้นบ้าน

. การดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

. กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด

การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดจันทบุรีได้นำความคิดจากยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่างๆ มาเป็นข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย

. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ มี ๕ ยุทธศาสตร์ศาสตร์ ดังนี้

.๑ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

.๒ ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่งคงของประเทศ

.๓ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน

.๔ ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

.๕ ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ

. ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออก (จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง) มี ๒ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

.๑ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

.๒ ยุทธศาสตร์การผลิต การแปรรูป และการตลาดของผลไม้เศรษฐกิจ

. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี มี ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

3.1ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์

3.2 ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่อัญมณี

3.3 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน

3.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มี ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

.๑ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมให้เข้มแข็ง

.๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

.๓ ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้มีคุณภาพ

.๔ ยุทธศาสตร์การปกครองและการบริหารจัดการ

. นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น

1. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน

1.1 ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรและปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านในชุมชนให้ประชาชนมีน้ำใช้อย่างสะอาดและเพียงพอต่อความต้องการ

1.2 ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านที่เป็นถนนลูกรังให้อยู่ในสภาพดีทุกสาย เส้นทางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านพัฒนาเป็นถนน คสล.หรือ ลาดยางแคฟซีล

1.3 ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะบริเวณถนนจุดไม่ปลอดภัยหรือไม่มีแสงสว่าง

2. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.1 ส่งเสริมการศึกษา

สนับสนุนการศึกษาท้องถิ่นในพื้นที่ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนวิทยากรท้องถิ่นให้สถานศึกษาในพื้นที่แก้ปัญหาในเรื่องการขาดแคลนครู เพื่อเกิดประโยชน์ต่อเด็กนักเรียน

จัดให้มีศูนย์ไอทีเพื่อการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในหมู่บ้านเพิ่มโอกาสทางการศึกษา

พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของอบต.โขมง ให้ได้เกณฑ์มาตรฐานของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่  

2.2 ส่งเสริมการศาสนา และสนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆที่ประชาชนเคารพนับถือ

3. นโยบายด้านสังคม

3.1 ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จัดให้มีโครงการฝึกอบรมพัฒนาให้ความรู้ แก่เด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ผู้พิการด้านต่างๆ ในหมู่บ้าน เช่น อาชีพ ความสามัคคี ความรู้กฎหมายชาวบ้าน ความรู้กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคในกลุ่มประชาชนฯลฯ

3.2 ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ

สนับสนุนการกีฬาทุกชนิดเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดอัตราการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และห่างไกลจากยาเสพติด สร้างโอกาสในการพัฒนาบุคลากรทางด้านการกีฬา เพื่อก้าวขึ้นไปสู่ระดับอำเภอ จังหวัด และระดับภูมิภาค โดยจัดให้มีโครงการแข่งขันกีฬาเพื่อสุขภาพ ในทุกระดับ

สนับสนุนงบประมาณชมรมกีฬาต่างๆในท้องถิ่น

จัดให้มีอุปกรณ์กีฬาสำหรับเยาวชน

3.3 ส่งเสริมพัฒนาการสาธารณสุข สุขภาพอนามัยประชาชนในตำบลโขมง

สนับสนุนศูนย์สาธารณสุขมูลฐานและอาสาสมัครสาธารณสุขให้เกิดการเข้มแข็งสามารถสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบบูรณาการ

สนับสนุนพัฒนาชมรมประชาชนและถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพเฝ้าระวังภัยด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดุแลสุขภาพตนเองที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

3.4 ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยพัฒนาศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอบต.โขมง ให้เข้มแข็งโดยให้ประชาชนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วม

3.5 ส่งเสริมและพัฒนาระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่น

จัดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ทันสมัย

ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในตำบล หมู่บ้านมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น เป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อบต.โขมง ป้องกันภัยในหมู่บ้านตนเอง

4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ

4.1 ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพและยกระดับรายได้ของประชาชน

จัดให้มีตลาดชุมชนหรือลานค้าชุมชนตามหมู่บ้านส่งเสริมการประกอบอาชีพและยกระดับรายได้ของประชาชน

4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานการผลิต การจำหน่ายและแปรรูปผลผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ของตำบล จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ ทางสื่อในรูปแบบต่างๆ

4.3 ส่งเสริมการเกษตร

จัดให้มีกิจกรรมการส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ในการทำการเกษตรเพื่อการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นไป

ส่งเสริมและมีการช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะที่ราคาตกต่ำ

สนับสนุนส่งเสริมกลุ่มอาชีพเกษตรกรในตำบล

4.4 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว

จัดให้มีกิจกรรมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของตำบลโขมง

5.นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลดปัญหาโลกร้อนสร้างเครือข่ายประสานงานในหมู่บ้านที่มีพื้นที่สาธารณะในการปลูกป่าเพื่อชุมชน สนับสนุนการปลูกต้นไม้ยืนต้นเป็นประจำทุกปี

บริหารจัดการขยะมูลฝอยตามครัวเรือนโดยการจัดให้มีที่ทิ้งขยะอย่างถูกสุขลักษณะและมีการแปรรูปขยะเพื่อสร้างรายได้

6. นโยบายด้านการบริหารจัดการที่ดี

บริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาล  ประชาชนจะต้องได้รับการบริการที่ดี  ความพึงพอใจของประชาชน  คือภารกิจของ อบต.โขมง

ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ