ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

1. การแข่งเรือหางยาว ถือเป็นงานประเพณีที่มีมานานแล้ว โดยจะจัดให้มีทุกปีซึ่งเรือหางยาวที่นำมาแข่งขันบางครั้งก็เป็นเรือหางยาว จากจังหวัดอื่นมาร่วมแข่งขันด้วยเช่นกัน  บริเวณที่จัดการแข่งขันเรือหางยาวคือ  ลำคลองหน้าวัดโขมง  ซึ่งก็สร้างความสนุกสนานให้แก่ประชาชนในตำบล

boat
2. ประเพณีรำสวด  เป็นประเพณีที่มีขึ้นในงานศพเท่านั้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอยู่เป็นเพื่อนศพ  โดยจะมีการร้องรำทำเพลงในช่วงเวลาหัวค่ำจนถึงรุ่งสาง  ในอดีตเมื่อมีงานศพผู้ที่ร้องเพลงรำสวดได้จะเดินทางมาเพื่อช่วยงาน  อาจจะมีหลายซ่าง(วง) มาร้องประชันกันคล้ายการร้องต่อเพลง  เครื่องดนตรีจะประกอบไปด้วย  กลองสองหน้า  ฉิ่ง  กรับ  ซึ่งเนื้อเพลงในการรำสวดจะมี  2  ประเภท  คือ  เพลงโบราณและเพลงสมัยใหม่  โดยเพลงโบราณเป็นเพลงที่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยอดีต  ทำนองจะค่อนข้างเศร้า  วังเวง  มักเป็นเพลงที่มีเนื้อหามาจากวรรณคดี  นิทานพื้นบ้าน  ส่วนเพลงสมัยใหม่จะเป็นการแต่งเนื้อเพลงขึ้นมาใหม่โดยมักเป็นทำนองของเพลง ลูกทุ่งในปัจจุบัน  ทำนองจะสนุกสนาน  มีการปรับแต่งให้เข้ากับยุคสมัย  การเกี้ยวพาราสี   ในการแสดงรำสวดจะมีการร้องเพลงไหว้ครูก่อนทุกครั้ง  ผู้รำสวดจะแต่งกายด้วยชุดดำ
3.  พิธีสามหาบ  เป็นพิธีที่จัดขึ้นในรุ่งเช้าของวันเก็บอัฐิ  เจ้าภาพจัดภัตตาหารคาวหวานสำหรับถวายแด่พระภิกษุสงฆ์  คือทำเป็นสาแหรกหาบ ข้างหนึ่งมีหม้อ  ข้าวสาร  พริก  หอม  กระเทียม  กะปิ  กุ้งแห้ง  ฯลฯ  เป็นต้น  ส่วนอีกข้างหนึ่งจัดสำรับคาวหวาน  ให้เหมือนกันดังนี้ทั้งสามหาบ  บุตรหลานหรือญาติ  3  คนหาบกันไปคนละหาบ  เดินเวียนรอบเมรุ  3  รอบ  ในเวลาเดินก็ร้องกู่กันอย่างชาวบ้าน (คือชักชวนไปทำบุญ)  พอเวียนครบ  3  รอบแล้วก็นำอาหารคาวหวานนั้นไปถวายพระภิกษุสงฆ์  ซึ่งทางปริศนาธรรม  อธิบายได้ว่าภพทั้งสามอันเป็นที่เกิดวนเวียนของสัตว์  เหมือนการเวียนรอบเชิงตะกอน  3  รอบ  การร้องกู่นั้นเป็นการบอกว่าจงมาในทางกุศล  จงทำบุญกุศลเข้าไว้เพื่อเป็นอริยทรัพย์(คุณความดีที่มีในตน)  ติดตามไปในภพหน้า
4.  การทำบุญทุ่ง – บุญส่ง   เป็นงานบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะมีขึ้น ในเดือน 6  ซึ่งจะทำในบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่เพราะเชื่อว่า ที่ต้นไม้ใหญ่จะมีผีสางนางไม้         สิงสถิตอยู่ เพื่อให้วิญญาณเหล่านี้ไปเกิดหรือไปสู่สุขคติ โดยงานจะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 6 โมงเช้า ซึ่งในงานจะมีการนำกาบของต้นหมากมาทำเป็นเรือเพื่อให้ชาวบ้านนำกับข้าวและ ขนมต่าง ๆ มาใส่เรือที่เด็กจะเป็นผู้นำมา เมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จ  ชาวบ้านจะทำพิธีกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลลงในเรือที่เด็กนำเรือ  และให้เด็กนำเรือดังกล่าวไปไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อเป็นอาหารแก่สัตว์ทั้งหลาย หลังจากนั้นชาวบ้านรับประทานอาหารที่นำมาทำบุญร่วมกัน

ss 2557-09-07 at 08.42.21

Untitled4

5. การแสดงหนังตะลุง หรือหนังกระแทกหยวก โดยลุงแดง
การ แสดงหนังตะลุงของลุงแดงมีที่มาจากภาคใต้ และสาเหตุที่เรียกว่าการแสดงหนังตะลุงหนังว่ากระแทกหยวก ก็เพราะจะมีการนำตัวหนังที่ใช้แสดงไปเสียบที่หยวกกล้วย เมื่อแสดงเสร็จ อุปกรณ์ที่ใช้แสดงประกอบด้วย
1.    ตัวหนัง
2.    ฉาก ซึ่งใช้ผ้าขาว ยาวประมาณ 3 เมตร
3.    กลอง , โทน และฉิ่ง
4.    ผู้เล่น 5 คน คือ เชิดตัวหนัง 2 คน และตีกลอง ,โทน และฉิ่ง อย่างละคน
ก่อน ที่จะแสดงละครจะมีการเชิดหนังหน้าพระก่อน เพื่อเป็นการไหว้ครู อุปกรณ์ที่มีอยู่กับลุงแดงมีอายุมากว่า 100 ปี ในการแสดงของลุงแดงจะมีอัตราค่าจ้างต่อคืนเท่ากับ1,500 บาท

Leave a Reply